เหยแก (Poke) Art Exhibition

In our present day, everybody can follow anybody. We like to give some attention and also like to earn it back. Most people nowadays like to gain any kind of fame they can; we can clearly see the changes in the social behavior of humanity, from early social media times when Net Idols were created, to today, when social media has become a huge part of our lives. Some people try hard to be interesting or try to emphasize certain differences outwardly to the rest of the world, even if these idiosyncratic features are fabricated. We can’t help but look at each other for estimation and comparison when we socialize. Although some of these very human perceptive reactions and feelings are not being spoken out loud, we still keep thinking about them and looking.

“Poke” is the name of the exhibition, referring to this action taken by one person calling for some attention from another. The exhibition features three artists who have noticed changes in this natural human behavior and are bringing up the issue to make us see the funny side of it. Everybody has had a moment of thinking and gossiping when someone or something catches our eyes and we start to poke our friends who are sitting next to us, to direct their attention to what we are looking at.

The boundaries between the two issues: ‘gossip or mention’ and ‘be noticeable or demanding of attention’ are not clearly separated in every situation, as these are characteristics coming from the nature of every human. We have had these reactions to the world around us from ancient times to the digital era. The purpose of this art exhibition is to find another positive perspective towards existing in society, in which everybody could be an interesting subject for anybody. We all have poked a friend, haven’t we?

รายละเอียดนิทรรศการ

สภาพสังคมในยุคที่ทุกคนสามารถตามติดชีวิตของใครก็ได้ และใครก็ได้คนนั้นส่วนใหญ่ก็พร้อมจะเป็นจุดสนใจอยู่แล้ว ไม่ว่าจะทางอินเตอร์เน็ตจากกระแสเน็ตไอดอลสมัยก่อนจนถึงช่วงที่ โซเชียลมีเดีย รุกล้ำเป็นดั่งปัจจัยสี่ของชีวิตมนุษย์ ทั้งอินสตราแกรม, เฟสบุ๊ค, ทวิตเตอร์ ฯลฯ ทำให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลงในเรื่องพฤติกรรมการเข้าสังคมของคนทั่วๆไป เช่นเดียวกับในสังคมโซเชียลชีวิตจริงที่พฤติกรรมด้านความสนใจเรื่องราวของสิ่งมีชีวิต อื่นรอบตัว ซึ่งมีอยู่แล้วในมนุษย์ดูจะเพิ่มทวีให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การช่างสังเกตคนอื่น การจดจำเพื่อเปรียบเทียบ การซุบซิบพูดคุยถึงบุคคลที่เพิ่งพานพบ หรือคนที่มาร่วมงานเลี้ยงเดียวกัน หรือคนไกลตัวที่เราไม่เคยจะรู้จัก แม้เราจะไม่ได้พูดออกมาก็หลีกเลี่ยงที่จะแอบเก็บไปคิดในมุมต่างๆ หรือแอบชำเลืองมองคนรอบข้างในสังคมเราขณะนั้นไม่ได้

“เหยแก” (POKE) คือเสียงอุทานที่หลายๆคนก็คงเคยหลุดปากเรียกคนข้างๆให้หันไปให้ความสนใจใครสักคน จึงกลายเป็นชื่อนิทรรศการที่ต้องการนำเสนองานศิลปะของศิลปินหญิง 3 คน ผู้สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมทางธรรมชาติของสังคมมนุษย์นี้ และอยากจะหยิบจับเรื่องราวเล็กๆมานำเสนอในมุมมองตลกขบขันและน่ารักตามแบบฉบับของตัวเอง

เส้นแบ่งของสองความหมายที่ว่า เอ่ยถึง หรือมันคือ การนินทา และ น่าสนใจ หรือมันคือ เรียกร้องความสนใจ คงไม่สามารถแยกออกจากกันได้ขาดอย่างชัดเจนในทุกกรณี เมื่อมันเป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่ธรรมชาติจับยัดเข้ามาในมนุษย์ให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตร่วมกัน ตั้งแต่อดีตเริ่มมีมนุษย์ลิงจนพัฒนามาเป็นสังคมเมือง ความสำคัญที่พวกเราควรจะหามุมมองใหม่ในภาวะที่มนุษย์เริ่มให้ความสนใจกันและอยากจะเป็นจุดสนใจด้วยนี้ จะทำให้เราเข้าใจและพร้อมยิ้มรับกับความเป็นธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงที่โลกใบนี้ถูกทำให้เล็กลง เพราะเราเองก็อุทานเรียกคนใกล้ตัวอยู่บ่อยๆมิใช่หรือ? “เหยแก…”

ศิลปินหน้าใหม่ 3 คนที่พร้อมมาสะกิดพวกคุณให้มาดูงาน :

– สุทธามน วรพงษ์ หรือ เดอก้าเดอกี้ หรือกีกี้ หรือมีนน์ เป็นสาวเชียงใหม่ร่างเล็กเจ้าของชื่อหลากหลายที่พกความน่ารักและกล้าแสดงออกของเธอเอาไว้เป็นปกตินิสัยพร้อมส่งต่อไปยังผู้คนที่ได้ทำความรู้จักกับเธอเสมอ พี่มีนร่ำเรียนศิลปะทัศนศิลป์จนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี แต่มีความชอบในศิลปะการแสดงต่างๆเป็นทุนเดิม งานของเธอจึงมีเรื่องของการแสดงออกผสมไหลเวียนเข้ามาในงานการสร้างสรรค์ศิลปะเสมอ ปัจจุบันมีนกำลังศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ สาขาศิลปการละคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

– นิโลบล เต็มสุขสันต์ จบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้านการออกแบบเพื่อการแสดงโดยตรงจากมศว. ก่อนจะค้นพบตัวเองว่าชอบงานวาดภาพประกอบ จึงเริ่มฝึกฝีไม้ลายมือในการวาดรูปและออกแบบลวดลายต่างๆ แต่ด้วยความรู้ด้านเสื้อผ้าที่ประกอบมาตามการเรียนที่จบมา ทำให้นิโลบลเริ่มทำงานด้านการออกแบบลายผ้า, งานพิมพ์บนผ้า ควบคู่ไปกับการวาดรูปในสไตล์ของเธอเอง

– วิชยาดา ปราบนอก ผู้สาวชาวขอนแก่นตั้งแต่เด็กจนโต ก่อนจะมาศึกษาร่ำเรียนในเมืองกรุงจนจบปริญญาตรีในด้านทัศนศิลป์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร งานศิลปะของวิชยาดาเป็นงานเขียนลายเส้นน่ารักที่แสดงตัวตนความเป็นผู้หญิงอยู่แล้ว ตั้งแต่ครั้งยังศึกษาศิลปะอยู่ จนเมื่อจบการศึกษาออกมาก็ยังคงมุ่งมั่นทำงานในสไตล์ของตัวเองเพื่อเพิ่มศักยภาพ เธอเคยวาดภาพประกอบและออกแบบปกให้กับนิตยสาร Playground Mag , ออกแบบลายเสื้อและสมุดให้กับ Ardel Gallery ปัจจุบันวิชยาดาออกแบบปกนิตยสารให้กับ Zommag รวมทั้งเป็นนักวาดภาพประกอบและศิลปินอิสระ

Artworks


Opening Reception

Published by Tuang Studio

Interactive artist, experiential designer, and curator